ในตัวอย่างนี้เราจะมาสร้างฟังก์ชันขึ้นมาใช้เอง ซึ่งจะทำให้เพิ่มความสะดวกในการเขียนโปรแกรม ลดบรรทัดที่ต้องพิมพ์ ง่ายในการเรียกใช้และปรับปรุงคำสั่งการทำงาน

ฟังกืชั่น Arduino เปรียบเสมือน เครื่องมือผลิตของ ที่เราป้อนวัตถุดิบเข้าไป ก็จะได้สิ่งของออกมา

เช่น เครื่องมื่อผลิตไข่ทอด วัตถุดิบคือ ไข่ และน้ำมัน สามารถเขียนในรูปแบบที่สั่น ๆ ได้

ไข่เจียว = เครื่องมื่อผลิตไข่ทอด(ไข่ , น้ำมัน);

 

ในคณิตศาสตร์พื้นฐาน เกือบทุกคนคงเคยแก้สมการฟังก์ชั่นง่าย ๆ แบบนี้

เช่น f(x) = x+20; ถ้า x=10  ผลลัพธ์ของฟังก์ชั่นนี้ก็คือ 30


ฟังก์ชั่นในการเขียนโปรแกรม Arduino ก็เหมือนกับทางคณิตศาสตร์ แบบนี้

โครงสร้างฟังก์ชั่น 

int fnName(int para1, int para2){

int sum = para1+para2;

return sum;

}

int คือ ประเภทตัวแปรที่ส่งค่ากลับ ถ้าไม่มีการส่งค่ากลับให้เขียนว่า void

fnName คือ ชื่อของฟังก์ชั่นที่เราตั้งเอง

int para1,int para2 คือ ค่าที่ส่งให้กับฟังก์ชั่น จะมีกี่ค่าหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีหลายค่าใช้ ‘,’ คั่น

return คือ ค่าตัวแปรที่จะให้ส่งค่ากลับ ถ้าเป็นฟังก์ชั่นแบบไม่มีการส่งค่ากลับ ตรงนี้ไม่ต้องเขียน


ดัดแปลงจากตัวอย่างนี้  f(x) = x+20; ถ้า x=10

เขียนเป็นฟังก์ชั่นใน Arduino ได้ง่าย ๆ แบบนี้

ตัวอย่างวิธีเรียกใช้ฟังก์ชั่น Arduino

เรียกใช้โดยเอาตัวแปรมารับ ในกรณีมีการส่งค่ากลับ เช่น

int val = f(10); // จะได้ค่า val = 30


Arduino function อีกตัวอย่าง

สร้างฟังก์ชั่นชื่อ about ให้แสดงคำว่า “Arduino Easy by “+ชื่อที่ส่งเข้ามาในฟังก์ชั่น

โดยในฟังก์ชั่นนี้เป็นเพียงการแสดงค่าออกหน้าจอ Serial Monitor ไม่มีการส่งค่ากลับ

 


 


3 Response Comments

  • Audy  3 เมษายน 2018 at 05:59

    ดีมากๆครับ เข้าใจง่าย

    ตอบกลับ
  • demo demo  3 มกราคม 2022 at 06:07

    ขอบคุณ​มาก​ครับ​

    ตอบกลับ

โพสคอมเมนต์

Please enter your name. Please enter an valid email address. Please enter a message.