การใช้งานคำสั่งเช็คเงื่อนไข if else
คำสั่งเช็คเงื่อนไข สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง if รูปแบบคือ
if แบบที่ 1
if(ตัวแปรที่ต้องการเช็ค ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ ค่าคงที่หรือตัวแปร){
// ถ้าผลการเปรียบเทียบเป็นจริง จะทำในปีกกานี้
}
ตัวอย่างเช่น
int sw = 1;
if(sw==1)
{
Serial.println(“YES”);
}
if แบบที่ 2
ถ้าต้องการเช็คเงื่อนไขเพิ่มเติม ใช้ else if ในการตรวจสอบได้
ตัวอย่างเช่น
int val = 100;
if(val>=200)
{
Serial.println(“200+”);
}else if(val>=100)
{
Serial.println(“100+”);
}
if แบบที่ 3
ถ้าไม่ต้องการเช็คเงื่อนไขอีก ในกรณีไม่เข้าเงื่อนไข อยากให้ทำคำสั่งที่กำหนดไว้ ใช้ else ในการตรวจสอบเพิ่ม
ตัวอย่างเช่น
int val = 500;
if(val<100)
{
Serial.println(“100-“);
}else if(val<90)
{
Serial.println(“90-“);
}else
{
Serial.println(“No”);
}
if แบบที่ 4
การตรวจสอบหลายเงื่อนไขพร้อมกัน สามารถใช้วงเล็บสำหรับค่าแต่ละเงื่อนไข แล้วใช้ตัวดำเนินการลอจิกเชื่อม
ตัวอย่างเช่น
int val = 95;
if((val>=80) && val<=100))
{
Serial.println(“OK”);
}
ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
เราสามารถใช้คำสั่งเปรียบเทียบ ได้หลายคำสั่ง โดยใช้สัญลักษณ์ดังนี้
สัญลักษณ์ | เปรียบเทียบ |
> | มากกว่า |
>= | มากกว่าหรือเท่ากับ |
< | น้อยกว่า |
<= | น้อยกว่าหรือเท่ากับ |
== | เท่ากับ |
!= | ไม่เท่ากับ |
ตัวดำเนินการลอจิก
สัญลักษณ์ | อ่านว่า | ความหมาย |
&& | AND | และ : เงื่อนไขต้องเป็นจริงทังหมด ผลคือจริง |
|| | OR | หรือ : เงื่อนไขบางอันเป็นจริง ผลคือจริง |
บทเรียนก่อนหน้าบทเรียนถัดไป
3 Response Comments
เริ่มเข้าใจแล้วรอดูบทเรียนถัดไปครับ
สุดยอด อธิบายดีมาก
Thanks a lottttt